Gastronomy Tourism Research

May 11, 2025 | by Thailand Gastronomy

Share

เจาะลึกเบื้องหลังทีมวิจัยนักสร้างสรรค์แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอาหารทั่วไทย

ในยุคที่ “อาหาร” คือ “เรื่องเล่า” ที่ส่งต่อความทรงจำ วัฒนธรรม และโอกาส เครือข่ายวัฒนธรรมอาหารประเทศไทย Thailand Gastronomy Network (TGN) ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ร่วมกันเปิดหน้าประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการท่องเที่ยวไทย ผ่านโครงการวิจัยชุดใหญ่ที่ชื่อว่า “แนวทางเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงอาหาร”

งานวิจัยนี้ สำรวจศักยภาพอาหารไทยในฐานะเครื่องมือทรงพลังที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความยั่งยืน เบื้องหลังโครงการวิจัยที่เต็มไปด้วยวิสัยทัศน์ คือทีมงานที่ประกอบด้วยนักวิจัยระดับแนวหน้า เชฟ ผู้ออกแบบ นักเล่าเรื่อง และผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่น ที่ร่วมกันตีความ “การท่องเที่ยวเชิงอาหาร” ให้เป็นเครื่องมือสร้างอนาคต โดยลงพื้นที่จริงใน 5 ภูมิภาคของประเทศไทย และร้อยเรียงออกมาเป็นเรื่องเล่าที่ทั้งเข้มข้นเปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจ

Case Study 1 : ภาคตะวันออก (ฉะเชิงเทรา – จันทบุรี)

Theme: Ecosystem Development
โดย: ธัญญารัตน์ ดุมกลาง และ กฤษฎากร สุขมูล

“สายน้ำ ผืนป่า ศรัทธา” คือหัวใจของจังหวัดฉะเชิงเทราที่ทีมวิจัยใช้เป็นกรณีศึกษา และนำมาใช้เป็นแกนการออกแบบระบบนิเวศ (Ecosystem) ด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างยั่งยืน พวกเขารวบรวมเสียงจากเครือข่ายเกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร เครื่องดื่ม โรงแรม คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ฉะเชิงเทรา และนักเล่าเรื่องในท้องถิ่น เพื่อออกแบบให้เห็นภาพรวมของห่วงโซ่อาหารปลอดภัย พร้อมเป็นต้นแบบผลักดันให้เกิดแบรนด์ของเมือง (City Branding ) ที่ยืนบนรากของตัวเองอย่างมั่นคง

Case Study 2: ภาคใต้ (ภูเก็ต – เพชรบุรี – สงขลา)

Theme: Creative Gastronomy Cities
โดย: รศ. ดร.กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์ เชี่ยวชาญ และ สุทธิมา เสืองาม

ภูเก็ต และเพชรบุรีเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของ UNESCO ถูกถอดรหัสอย่างลึกซึ้ง ทีมวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า การมีตัวตนในระดับสากลสามารถขับเคลื่อนเมืองด้วยอาหารได้อย่างไร พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าจังหวัดสงขลากำลังเติบโตเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ ที่สามารถต่อยอดแนวคิด Creative Gastronomy Cities  นี้ได้อย่างทรงพลังเช่นกัน

Case Study 3: ภาคเหนือ (เชียงใหม่)

Theme: Food Gifts & Craft Innovation
โดย: เนติมา ปิงกุลธนกิตต์ และ กฤษฎากร สุขมูล

ของฝากไม่ได้เป็นเพียงแค่วัตถุ หากคือ “เรื่องเล่า” ที่เดินทางได้ ทีมวิจัยสำรวจโลกของผลิตภัณฑ์คราฟต์ที่นำเสนอรสชาติ และความเชี่ยวชาญเฉพาะถิ่น ผ่านอาหารที่มีรากทางวัฒนธรรม ผลงานของพวกเขาชี้ให้เห็นว่า ของกินสามารถเป็นตัวแทนของท้องถิ่น และปลุกให้ผู้คนออกเดินทางเพื่อ “กลับไปหาที่มา” ของรสชาตินั้น

Case Study 4: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Theme: Cross-sectoral Creative Collaboration (Food x Fashion)
โดย: วรวรรธน์ วราสถิรวัฒน์

เมื่ออาหารจับมือกับแฟชั่น สิ่งที่ได้คืออัตลักษณ์ใหม่ของอีสาน การนำเสนออาหารผ่านเลนส์ของดีไซน์บนโต๊ะอาหาร ไม่เพียงเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ แต่ยังเปิดพื้นที่ให้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเกิดขึ้นในรูปแบบร่วมสมัย นี่คือการเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่เชื้อเชิญนักเดินทางให้มาเสพ “ความงาม” ด้วยตา และลิ้นในคราวเดียว

Case Study 5: ภาคกลาง (กรุงเทพฯ – Fine Dining)

Theme: Gastro-Diplomacy
โดย: ดร.นนทวรรณ ส่งเสริม และ อ.เจิมสุดา มานะกุล

กรุงเทพฯ คือสนามระดับโลกของเชฟไทย ผู้ซึ่งกำลังทำหน้าที่เป็น “ทูตวัฒนธรรม” ผ่านอาหารระดับ Fine Dining ที่ลึกซึ้งกว่าความอร่อย งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า อาหารสามารถเป็นเครื่องมือทางการทูตได้อย่างทรงพลัง โดยใช้จานอาหารเป็นตัวเล่าเรื่องราวของชาติ ความเชื่อ และรากเหง้าทางวัฒนธรรมสู่เวทีโลก

อยู่เบื้องหลังโมเดลวิจัย 4+1 Quadrants

โดย: ผศ. ดร.จุฑามาศ วิศาลสิงห์ (หัวหน้าทีมวิจัย)

ผู้นำแห่งเครือข่ายวัฒนธรรมอาหารประเทศไทย ผู้ออกแบบโมเดล “4+1 Quadrants” ที่ผสานแนวคิดด้านสุขภาพ ความยั่งยืน ความคิดสร้างสรรค์ และความภาคภูมิใจ สู่การวางแนวทางพัฒนา Gastronomy Tourism ในแต่ละภูมิภาคอย่างยืดหยุ่นและนำไปใช้ได้จริง โดยเชื่อมโยงกับแนวโน้มระดับโลก เช่น CarbonMinimalism, BragEconomy, Wellness, Creativity

เบื้องหลังงานวิจัยชิ้นนี้ คือทีมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ได้แก่

นักวิจัยทีม Perfect Link Consulting Group  , Thailand Gastronomy Network และเครือข่ายภาคีทั่วประเทศ งานวิจัยของพวกเขาจุดประกายให้ผู้กำหนดนโยบาย เชฟ นักออกแบบ ผู้ประกอบการ และนักเล่าเรื่องรุ่นใหม่ ได้ลุกขึ้นมาร่วมกันเขียนอนาคตของการท่องเที่ยวเชิงอาหาร Gastronomy Tourism ของประเทศไทยต่อไป

Latest Blogs

All Blogs
Events
January 1, 2025

Gastro Club Event : January 2025

KTC EXCLUSIVE JOURNEY TRIP 9 – 10 January 2025 Bangkok – Phetchaburi เส้นทางสู่มรดกแห่งความหวาน รสชาติเมืองเพชรทริปรถไฟสุดพิเศษ สู่เสนห์เมืองมรดกด้านอาหารของยูเนสโก้ สอบถามรายละเอียดการจัดกิจกรรมพิเศษ EXCLUSIVE JOURNEY TRIP Email : [email protected]

Thailand Gastronomy
Blog
December 19, 2024

Rail Journey : Staycation

STAYCATION @ Khao Taoเที่ยวไป ชิลล์ไป ทำงานไป จากบนรถไฟถึงเขาเต่า เรื่อง : สุทธิมา เสืองาม ภาพ : กฤษฎากร สุขมูล “เส้นทางชีวิตของคนเราไม่ต่างกับถนน มีทางแยก ทางตรง ทางเลี้ยว พอเราเดินทางมาถึงจุดหนึ่ง ความสนุกกลับไม่ใช่การไปให้ถึงเป้าหมาย แต่เป็นการเก็บเกี่ยวเรื่องราวระหว่างทาง และถ้าหากได้เพื่อนร่วมทางที่รู้ใจก็ยิ่งดี จะได้ชวนกันไปค้นหาแรงบันดาลใจที่ไม่ถูกจำกัดอยู่กับโลกใบเดิม“ การเดินทางโดยรถไฟกลายเป็นสิ่งใหม่สำหรับเรา ทั้งที่อยู่คู่กับคนไทยมากว่า 120 ปี เพราะเราอยากมีประสบการณ์แบบ STAYCATION ที่ได้พักผ่อนไป ทำงานไป และ “เขาเต่า” ดูจะเป็นจุดหมาย ที่เหมาะกับการเดินทางครั้งนี้ เพราะสงบเงียบและมีจุดท่องเที่ยวอื่น ๆ ให้เราหยุดแวะตามรายทาง เราตัดสินใจนั่งรถไฟไปลงที่สถานีหัวหิน ด้วยรถไฟชั้น 3 ขบวน 261 “กรุงเทพฯ-สวนสนประดิพัทธ์” เป็นรถไฟดีเซลรางแบบธรรมดา ออกจากสถานีกรุงเทพ เวลา 9.20 น. ถึงหัวหินเวลา 14.15 น. ค่าตั๋วรถไฟคนละ 44 […]

Thailand Gastronomy
Blog
December 14, 2024

Rail Journey : Filler Your Life

FILLER YOUR LIFE @ ชะอำ – หัวหินเติมความสุขให้ฉ่ำหัวใจ ลบเลือนริ้วรอยในชีวิต เรื่อง : สุทธิมา เสืองาม ภาพ : ชาตรี สลีวง และ กฤษฎากร สุขมูล “เมื่อถึงช่วงวัยที่ใบหน้าไม่อาจต้านทานแรงโน้มถ่วง เรายังมีสิทธิ์พึ่งพาเทคโนโลยีให้เราดูดีขึ้น แต่กายกับใจนี่สิ ต้องเติมด้วยอะไรถึงจะฟื้นฟูความสุขกลับมาได้ดังเดิม” ความรัก ความสุข ความสนุก ในวัยเยาว์ คือ สิ่งที่เยียวยาหัวใจอับเฉา เพื่อนวัยเด็กจะช่วยให้โลกสดใสประหนึ่งการฉีด Filler ให้กับชีวิตและจิตใจ เราส่งสัญญาณ S.O.S. (แปลว่า ด่วน) ชวนเพื่อนรู้ใจไปคิกคักรับลมทะเลด้วยกันสัก 2 วัน 1 คืน เป้าหมายอยู่ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เราวางแผนท่องเที่ยวด้วยรถไฟ เพื่อรับประสบการณ์ที่ชวนให้เรานึกถึงเรื่องราววัยเด็ก รถไฟไปหัวหินมีด้วยกันหลายขบวน เราเลือกขบวนที่ทำเวลาได้ดี คือ ขบวน 43 (รถไฟด่วนพิเศษ กรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี) ซี่งเป็นรถดีเซลรางนั่งปรับอากาศชั้น 2 หรือรถสปรินเตอร์ […]

Thailand Gastronomy