Thailand Gastronomy Network

ประสบการณ์ด้านอาหารเป็นมากกว่าการรับประทานและความสุขที่เกิดจากการเดินทางท่องเที่ยว แต่พลังแห่งระบบอาหารที่ยั่งยืน นับจากการผลิต (เช่น การเกษตร และการเยี่ยมชมผู้ผลิตอาหารพื้นบ้าน) ไปจนถึงหลังการบริโภค (เช่น ผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก และการจัดการของเหลือ เศษอาหาร) ทั้งห่วงโซ่ของระบบนิเวศน์นี้สร้างโอกาสมากมายที่จะทำให้ วัฒนธรรมอาหารกลายเป็นเรื่องทรงอิทธิพลในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ที่มุ่งเน้นการสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ความเป็นดีอยู่ดีของคนในสังคม และนำพาให้ประเทศก้าวสู่เป้าหมายการจัดการอย่างยั่งยืนร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงกว้าง ซึ่งหลายคนอยู่นอกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

เครือข่ายวัฒนธรรมอาหารประเทศไทยจะเป็นสื่อกลางในการส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมร่วมสร้างนวัตกรรม ให้เข้าถึงคนรุ่นต่อรุ่น นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เครือข่ายวัฒนธรรมอาหารประเทศไทย คือ การร่วมตัวของผู้คนจากหลากหลายสาขา เพื่อสร้างแพลตฟอร์มแห่งคลังสมอง (our brain bank) ที่ทุกคนเชื่อมั่นเหมือนกันว่า ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมอาหารและศาสตร์การทำอาหารอันเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น สามารถนำมาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นพลังการเคลื่อนไหวอย่างมีศิลปะ สุนทรียศาสตร์ สู่ความยั่งยืน เครือข่ายของเราก่อตั้งขึ้นจากหลักฐานการวิจัยที่แข็งแกร่งตั้งแต่ปี 2559 (Educational Research Initiatives).

การสนับสนุนเงินทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องมานานกว่าทศวรรษทำให้เราก้าวไปข้างหน้าร่วมกับพันธมิตร เพื่อรักษาหลักการดังต่อไปนี้

Our Partners

สนับสนุนการพัฒนาศาสตร์แห่งวัฒนธรรมอาหารและการท่องเที่ยว เพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งต่อวัฒนธรรมโดยครอบคลุมถึงความสามารถในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน บนหลักการพื้นฐานที่ว่า ระบบอาหารท้องถิ่น อาหารภูมิภาคและอาหารของโลกที่มีความยั่งยืนนั้น สำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของเรา การปฏิบัติการด้านวัฒนธรรมอาหารจะนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาการท่องเที่ยวยั่งยืน ด้วยการใช้นวัตกรรมและการจ้างงานในชุมชน ขณะเดียวกันยังเป็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งขนบประเพณีและความหลากหลายของท้องถิ่น รวมถึงการตอบแทนรางวัลแก่ผู้ที่รังสรรค์ต้นตำรับแห่งกาลเวลา

ให้คุณค่าและเปิดรับการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่และเพศที่หลากหลาย ให้แสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านศิลปะทางด้านอาหาร (เช่น การจัดวางและนำเสนออาหาร การออกแบบตกแต่งอาหาร การสนทนาเกี่ยวกับอาหาร อาหารในรูปแบบของที่ระลึก และการจับคู่อาหาร เป็นต้น)

สร้างประโยชน์จากสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมเพื่อเปลี่ยนชุมชนและเมืองให้เป็นสถานที่ใหม่ซึ่งมีชีวิตชีวา เหมาะกับการอยู่อาศัย ทำงานและมาเที่ยวชม ความสำเร็จของการสร้างสรรค์วัฒนธรรมอาหาร จะสร้างบรรยากาศของสถานที่ซึ่งมีีบุคลิกชัดเจนจนสามารถดึงดูดผู้มาเยือน และยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมในท้องถิ่นซึ่งสร้างสรรค์เศรษฐกิจเชิงบวกให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

ขับเคลื่อนการก่อตั้งแพลตฟอร์มวัฒนธรรมของประเทศเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ที่จะช่วยพัฒนาประสบการณ์ด้านวัฒนธรรมอาหาร นับเป็นการสร้างชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกร เพื่อสร้างผลผลิตที่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับคนในท้องถิ่นและผู้มาเยือน

ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมที่ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมอาหารและการท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนต่างรุ่น การส่งผ่านเรื่องราวข้ามวัฒนธรรมในมิติต่าง ๆ หากมีการจัดการที่ดีจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจผ่านปฏิบัติการเพื่อความยั่งยืนและประสบการณ์ด้านอาหาร ดังนั้น การท่องเที่ยวเชิงอาหารจึงช่วยสร้างแบรนด์และการตลาดของจุดหมายปลายทางผ่านการเข้าถึงตัวตนของสถานที่แต่ละแห่ง ควบคู่ไปกับการช่วยอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น

เพิ่มศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น โดยให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวก และสนับสนุนผู้นำตั้งแต่ระดับภูมิภาค จังหวัด เมือง และผู้ริเริ่มนวัตกรรมทางวัฒนธรรม ให้สามารถเข้าใจองค์รวมของห่วงโซ่แห่งคุณค่าของระบบอาหารยั่งยืน และส่งเสริมศักยภาพของอาหารที่โดดเด่น มรดกทางวัฒนธรรม ศิลปะและต้นทุนด้านการท่องเที่ยว

ลงทุนกับการพัฒนาช่างฝีมือรุ่นเยาว์เพื่อให้เกิดองค์กรนวัตกรรม ซึ่งสนับสนุนให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในภูมิภาค โดยการเน้นความแตกต่างทางวัฒนธรรมอาหาร การให้ความรู้เรื่องความยั่งยืนและการมีพลานามัยที่ดีซึ่งมาจากอาหาร และการกระตุ้นการพัฒนาด้านวัฒนธรรมอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ/สินค้า/ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่

สร้างและจัดแสดงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นของภูมิภาคและสินทรัพย์ทางด้านอาหารออกสู่สากล โดยทำให้วิถีของอาหารพื้นบ้านโดดเด่นขึ้นมาสู่สายตาชาวโลก

สร้างการตื่นตัวเรื่องอาหารเพื่อการมีสุขภาพที่ดีและความยั่งยืน ผ่านทางระบบการศึกษาและโครงการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม

เพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาหารที่คนส่วนใหญ่บริโภค คุณค่าของผลผลิตในท้องถิ่นและความจำเป็นของการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อปกป้องกระบวนการผลิตภายในชุมชน ดังนั้นเครือข่าย ไม่เพียงดึงดูดนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังสร้างประโยชน์ระยะยาวในด้านการให้ความรู้ในเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดีในวิถีแห่งสุขภาพ และเป็นการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย

สร้างมาตรการในการจัดการเรื่องขยะจากอาหาร การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ

เครือข่ายวัฒนธรรมอาหารประเทศไทยได้จดแจ้งเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม ระดับสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และได้มีการประกาศรับรองการจดแจ้งให้เป็น “เครือข่ายวัฒนธรรมอาหารประเทศไทย”

Click here